6/8/54

ส่ง Letter of Credit (L/C)

Letter of Credit (L/C)

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

        เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
        การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)

        การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
  • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
  • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้

        หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
        ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
        ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว
        หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)

        เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีดังนี้ คือ
        1.สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่เป็นเหตุให้มีการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นดังกล่าว แม้จะมีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าวนั้นในเครดิตก็ตาม ดังนั้นการเข้ารับภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิตในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต
        2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอ เพื่อให้มีการชำระเงินรับรอง หรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต
        3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือ กรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิต อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ
        1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง
        1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต
        1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต
        2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า มีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย หรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป
        3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆ และได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว
        4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต) เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ
วิธีการทำงานและวิธีการบันทึกระบบ Letter Of Credit มีขั้นตอนดังนี้
Q :วิธีการทำงานและวิธีการบันทึกระบบ Letter Of Credit มีขั้นตอนอย่างไร
A :มีขั้นตอนการดังนี้
ระบบ Letter Of Credit มีไว้สำหรับรองรับธุรกิจที่มีการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศโดยใช้ตราสาร L/C ในการชำระค่าสินค้า
LC เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ใช้ในการชำระเงินค่าสินค้าในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีมีภาระที่จะชำระค่าสินค้าให้กับผู้ขายสินค้า การที่ธนาคารยินยอมเปิดแอลซีให้กับลูกค้าหรือผู้ซื้อเท่ากับธนาคารมีภาระผูกพันที่จะชำระ ค่าสินค้านั้นด้วย

การนำแอลซีมาใช้ในการค้าระหว่างประเทศนั้น ช่วยให้การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศและการชำระเงินมีความสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายยังไม่มีความมั่นใจซึ่งกันและกันในด้านการเงิน ภาษา การใช้เงินตราต่างสกุลกัน และประเพณีการค้าที่แตกต่างกัน

แอลซีสามารถปกป้องผู้ซื้อให้ได้รับการปฏิบัติตามสัญญาด้วยการระบุระยะเวลา และเงื่อนไขที่แน่ชัดที่ผู้ขายต้องปฏิบัติก่อนที่จะได้รับชำระเงิน เช่น วันที่ส่งสินค้า , รายละเอียดของสินค้า เอกสิทธิต่าง ๆ และเงื่อนไขอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน แอลซีก็ปกป้องผู้ขายสินค้าในการได้รับชำระเงิน โดยการที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีรับผิดชอบในการชำระเงินให้กับผู้ขายหากผู้ขายปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่แอลซีระบุไว้ โดยทั่ว ๆ ไป แล้วแอลซีมีผู้เกี่ยวข้องด้วยกัน 4 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อ, ธนาคารผู้เปิดแอลซี, ผู้ขาย และธนาคารผู้แจ้งแอลซี

หลังจากที่ผู้ส่งออกส่งสินค้าไปต่างประเทศแล้ว จะต้องรวบรวมและจัดเตรียมเอกสารส่งออก ตามเงื่อนไขและข้อตกลงของแอลซี เพื่อยืนยันต่อธนาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยยื่นเอกสารทั้งหมดกับแอลซีต้นฉบับและแบบฟอร์มใบคำขอยื่นเอกสารเพื่อขอขึ้นเงิน เมื่อได้รับเอกสารตามที่ยื่นมา ธนาคารจะให้บริการตรวจความถูกต้อง ครบถ้วน และ สมบูรณ์ของเอกสารกับแอลซีต้นฉบับ และแจ้งผลการตรวจให้ทราบก่อนที่จะส่งเอกสาร ดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินกับธนาคารผู้เปิดแอลซี
ขั้นตอนการบันทึกรายการ
1. บันทึกรายการขายสินค้าโดยการขายเชื่อที่ระบบ Sale Order > SO Data Entry > เมนูขายเชื่อหลังจากที่ได้รับเอกสาร L/C จากธนาคารผู้ซื้อ เป็นผู้ออก L/C ให้นำมาบันทึกรายการที่ระบบ Letter Of Credit > LC Data Entry > Letter of Credit เพื่อบันทึกเอกสาร L/C ที่เป็นการยืนยันการชำระค่าสินค้า และ ระบุระยะเวลาในการขึ้นเงินและรายละเอียดลูกหนี้ และรายละเอียดสินค้าที่ได้เปิดการซื้อขายกันระหว่างประเทศ
-บันทึกรายการขายสินค้าที่ระบบ Sale Order > SO Data Entry > เมนูขายเชื่อ เมื่อได้รับการเอกสาร L/C เพื่อยืนยันการซื้อสินค้าแล้ว

-การบันทึกขายสินค้าจะมี Rate อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้องซึ่งรูปแบบการกำหนดตาม อัตราแลกเปลี่ยนแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ โดยทำการบันทึกที่ Tab Rate
- จากนั้นบันทึกรายการระบบ Letter of Credit > LC Data Entry > Letter of Credit
> การบันทึกที่หน้าต่างนี้ในส่วนรหัสสินค้าเป็นเพียงการบันทึก รายละเอียดรหัสสินค้าเท่านั้นซึ่งไม่มีผลต่อ Stock สินค้า
> ช่อง Expire date การบันทึกที่หน้าต่างนี้เป็นการบันทึกในส่วนของเอกสารที่ได้รับจากผู้ซื้อ หรือธนาคารผู้ซื้อเพื่อกำหนดวันนำ L/C ขึ้นเงิน ซึ่งจะมีให้กำหนดวันหมดอายุของเอกสารฉบับนี้ในการนำขึ้นเงิน
> ช่อง Bank ระบุธนาคารที่จะนำขึ้นเงิน ซึ่งธนาคานี้จะระบุเป็นธนาคารเกี่ยวข้องกับการออก L/C
2. เมื่อถึงกำหนดระยะเวลานำ L/C ไปขึ้นเงินกับธนาคารให้มาบันทึกที่ ระบบ Letter of Credit > LC Data Entry > Packing Credit เพื่อบันทึกรายการทางระบบบัญชีและตัดการชำระหนี้เอกสาร L/C ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดการขึ้นเงินไว้ในตราสาร L/C ซึ่งจะมีค่าอากร, ค่าธรรมเนียมธนาคารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
- Tab Detail มีขั้นตอนการบันทึก ดังนี้
1. อ้างอิง เอกสารจากหน้าต่าง Letter Of Credit ที่ช่อง L/C No. มาทำรายการ ด้วยการ click ที่ปุ่ม drop down โปรแกรมจะอ้างอิงเอกสารมาให้
2. บันทึกค่าธรรมเนียมธนาคาร, ดอกเบี้ยจ่าย, ค่าอากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
3. ช่อง Packing Credit Amount ให้ระบุยอดเงินที่ได้บันทึกขายไป ที่หน้าเมนูขาย ยอดเงินบาทที่แปลงเป็นเงินบาทไทย เท่านั้น จากนั้นจะได้ผลลัพธ์ที่จะได้รับเงินคือ
นำยอดเงิน Packing Credit Amount หัก ยอดค่าใช้จ่ายคือ ค่าธรรมเนียมธนาคาร, ดอกเบี้ยจ่าย, ค่าอากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่ากับ เงินโอน ที่จะได้รับเข้ามา ตามเอกสารหน้า L/C ที่ได้เปิดกันและได้ยืนยันเอกสารที่ได้รับจากการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
- Tab Transfer In ให้นำยอดเงินที่จะได้รับมาบันทึกรายการเงินโอน
-Tab GL แสดงผลการ Post GL
> การบันทึกค่าธรรมเนียม,ค่าอากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในหน้าต่างนี้ จะมีผลต่อระบบ GL ทันที ซึ่งเมื่อไปบันทึกรายการรับชำระหนี้โปรแกรมจะ ทำการปรับปรุงรายการ Packing Credit ให้อีกครั้ง
3. เมื่อบันทึกรายการตามข้อที่ (3) เรียบร้อยให้ไปบันทึกรายการที่ระบบ Account Receivable > AR Data Entry > เมนูรับชำระหนี้ โดยอ้างอิงเอกสารขายเชื่อมาบันทึกรายการรับชำระหนี้ และ อ้างอิงเอกสาร L/C จาก Tab P/C มาบันทึกรับชำระหนี้ด้วย L/C
- Tab Detail อ้างอิงเอกสารจากการบันทึกขายเชื่อมากบันทึกรายการก่อน
- Tab P/C อ้างอิงเอกสารจากหน้าต่าง Packing Credit มาเพื่อบันทึกรายการ Receive
Tab Receive โปรแกรมจะแสดงยอดที่อ้างอิงมาจากเอกสาร ขายเชื่อด้านเครดิต และจาก Packing Credit ด้านเดบิต ให้
- Tab GL
> โปรแกรมจะทำการปรับรายการจากที่ได้ เครดิต Packing Credit ไว้ที่เมนู Packing Credit เป็น เดบิต Packing Credit และ เครดิต ลูกหนี้ เพื่อตัดรายการลูกหนี้จากการ์ดลูกหนี้ให้
http//www.panyathai.or. th/wiki/index.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น