28/7/54

ส่ง international organazation

คำศัพท์เกี่ยวกับองค์กรระหว่างประเทศ
A-X(ASEAN Minus X)

เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนความร่วมมืออาเซียนที่มีความยืดหยุ่นซึ่งเปิดโอกาสให้สามารถริเริ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องรอให้ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมพร้อมกัน
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AADCP (ASEAN-Australia Development Cooperation Programme)

โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาอาเซียน-ออสเตรเลีย
เป็นกรอบความร่วมมือระยะ 5 ปี ที่ออสเตรเลียให้ความร่วมมือกับ อาเซียนในด้านโครงการพัฒนากับอาเซียน โดยจะเริ่มโครงการครั้งแรกระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2544-2549 มีมูลค่ารวม 45 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งอาเซียนต้องออกเงินสมทบโครงการอีกร้อยละ 20 อนึ่ง AADCP เป็นโครงการความร่วมมือที่เกิดขึ้นเพื่อทดแทน AAECP (ASEAN-Australia Economic Cooperation Programme หรือ โครงการร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเซียน-ออสเตรเลีย) ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2546
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AAF (ASEAN-Australia Forum)

การประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย
เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุกๆ 18 - 24 เดือน โดยหัวหน้าคณะ ผู้แทนของออสเตรเลียและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (ปลัดกระทรวงฯ) และเป็นประธานร่วมของการประชุม เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้านน
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AAF (Asia-Africa Forum)

การประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับแอฟริกา
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AASROC (Asian-African Sub-Regional Organizations Conference)

การประชุมองค์การอนุภูมิภาคเอเชีย-แอฟริกา
มีการประชุมครั้งแรกที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 2546
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)


ABAC (APEC Business Advisory Council)

สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ABS (Access and Benefit Sharing)

การแบ่งปันผลประโยชน์และการเข้าถึง
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ABTC (APEC Business Travel Card)

บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจสมาชิกเอเปค (ที่เป็นสมาชิกโครงการ) สามารถเดินทางเข้า-ออกประเทศสมาชิกเอเปค (ที่เป็นสมาชิกโครงการ) ได้ มีกำหนดอายุ 3-5 ปี
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

abuse of privilege

การใช้เอกสิทธิ์โดยมิชอบ
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACB (ASEAN Committee in Beijing)

คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงปักกิ่ง
" ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุง ปักกิ่ง มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของ อาเซียนในการมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่กรุงปักกิ่ง
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2
)

ACBC (ASEAN-Canada Business Council)

การประชุมสภาธุรกิจอาเซียน-แคนาดา
มีการประชุมทุกปีในระหว่างการประชุมสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน เพื่อพิจารณาปัญหาและอุปสรรคในการติดต่อค้าขาย และการร่วมลงทุนระหว่างกัน ตลอดจนเสนอแนะแนวทางของความร่วมมือ
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)



ACC (ASEAN Coordinating Council)

คณะมนตรีประสานงานอาเซียน
ประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ทำหน้าที่ในการเตรียมการประชุมของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน และประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่าง ๆ เพื่อความสอดคล้องกันตามนโยบาย ประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างกัน
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

accession

ภาคยานุวัติ
หมายถึง การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญาภายหลังจากที่มีการลงนามในสนธิสัญญาไปแล้ว
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Accession

การภาคยานุวัติ
คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติพิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

accredit

แต่งตั้งให้ไปประจำ
หมายถึง การแต่งตั้งมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไปประจำยังประเทศอื่น และมีอำนาจดูแลประเทศนั้นหรือเขตอาณาต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่า Accredited Ambassador
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)


accretion

ที่งอกชายฝั่ง ที่งอกริมตลิ่ง
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACCSM (ASEAN Conference on Civil Service Matters)

การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการพลเรือน
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACCSQ (ASEAN Consultative Committee on Standards and Quality)

คณะกรรมการที่ปรึกษาของอาเซียนด้านมาตรฐานและคุณภาพ
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACD (Asia Cooperation Dialogue)

ความร่วมมือเอเชีย
เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาคอื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market)
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACE (ASEAN Centre for Energy)

ศูนย์พลังงานอาเซียน
" จัดตั้งขึ้นที่กรุงจาการ์ตา เมื่อเดือนมกราคม 2542 มีหน้าที่ในการแสวง หาความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนและกับประเทศนอกภูมิภาคในการศึกษา วิจัยและดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านพลังงาน "
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)


ACF (ASEAN Cultural Fund)

กองทุนวัฒนธรรมอาเซียน
จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม/โครงการความ ร่วมมือของอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ โดยในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลญี่ปุ่นได้บริจาคเงินจำนวน 5,000 ล้านเยน หรือประมาณ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่กองทุนฯ เพื่อนำดอกผลไปใช้ในการสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACMECS (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy)

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง
ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุมรัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACP (Africa, Caribean and Pacific Countries)

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคแอฟริกา หมู่เกาะในแคริบเบียน และแปซิฟิก
ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรป
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACS (ASEAN Committee in Seoul)

คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโซล
ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุงโซล มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของอาเซียนในการมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณรัฐเกาหลีที่กรุงโซล
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACT (ASEAN Committee in Tokyo)

คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโตเกียว
ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตอาเซียน 10 ประเทศซึ่งประจำที่กรุง โตเกียว มีการหารือเป็นประจำทุก 1-2 เดือน หรือตามความจำเป็น
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Act on Consular Privileges and Immunities B.E. 2541

พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. 2541
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Act on Diplomatic Privileges and Immunities B.E. 2527

พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)





AD (Anti-dumping duty)

ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่เรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกในต่างประเทศได้ส่งสินค้านั้นเข้ามา เพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ในราคาที่ต่ำกว่าราคาจำหน่ายในประเทศของตน หรือในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Ad hoc

เพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายโดยเฉพาะ
เช่น คณะกรรมการการเมืองพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะ ตามที่รับมอบหมายจากสมัชชาสหประชาชาตินั้น แต่เดิมมีชื่อว่าคณะกรรมการการเมืองเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee)
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ADB (Asian Development Bank)

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย
ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีสมาชิกทั้งหมด 59 ประเทศ (สถานะเมื่อ เดือนตุลาคม 2543) แบ่งเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 43 ประเทศ (รวมทั้งไทย) และประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคอีก 16 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ADF (ASEAN Development Fund)

กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

administration of the Royal Thai Government agencies in foreign countries

การบริหารราชการในต่างประเทศ
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ADPC (Asian Development Preparedness Center)

ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)


AEBF (Asia-Europe Business Forum)

สภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป
เป็นกลไกหนึ่งภายใต้ความร่วมมืออาเซม(ASEM) ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซม เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2540
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
อ้างอิง     http://www.mfa.go.th/web/856.php?code=a

7/7/54

ส่ง Incoterms

Incoterms (International Commercial Terms) 
ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ



Incoterms or International Commercial terms are a series of pre-defined commercial terms published by the International Chamber of Commerce (ICC) widely used in international commercial transactions. A series of three-letter trade terms related to common sales practices, Incoterms are intended primarily to clearly communicate the tasks, costs and risks associated with the transportation and delivery of goods. Incoterms are accepted by governments, legal authorities and practitioners worldwide for the interpretation of most commonly used terms in international trade. They are intended to reduce or remove altogether uncertainties arising from different interpretation of such terms in different countries. First published in1936, Incoterms have been periodically updated, with the eighth version—Incoterms 2010—having been published on January 1, 2011. Incoterms is a registered trademark.


.

Incoterms หรือข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศจะมีชุดของเงื่อนไขทางการค้าที่กำหนดไว้ล่วงหน้าที่เผยแพร่โดยสภาหอการค้าระหว่างประเทศของพาณิชย์ (ICC) ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ชุดของสามตัวอักษรข้อตกลงการค้าที่เกี่ยวข้องกับการขายร่วมกัน Incoterm ถูกวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เห็นอย่างชัดเจนในการสื่อสารงานค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการจัดส่งสินค้า Incoterms เป็นที่ยอมรับโดยรัฐบาลมีอำนาจทางกฎหมายและผู้ปฏิบัติงานทั่วโลกสำหรับการตีความของคำที่ใช้บ่อยที่สุดในการค้าระหว่างประเทศ พวกเขามีวัตถุประสงค์เพื่อลดความไม่แน่นอนหรือลบทั้งหมดที่เกิดจากการตีความแตกต่างกันของข้อตกลงดังกล่าวในประเทศที่แตกต่างกัน ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1936, Incoterms ได้รับการปรับปรุงเป็นระยะ ๆ กับที่แปดรุ่น Incoterms2010 - เคยได้รับการเผยแพร่บน 1 มกราคม 2011 Incoterms เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน



1. วัตถุประสงค์และขอบเขตของ  INCOTERMS
โดยปกติแล้ว ในการค้าระหว่างประเทศจะมีเงื่อนไขทางการค้า (Trade Terms)   ใช้กันเป็นประจำ  เป็นต้นว่า FOB หรือ CIF หรืออะไรอื่น ๆ อีกหลายอย่าง   ถ้าจะว่าไปแล้ว Trade Terms นี่แหละเป็นสาระสำคัญที่ช่วยชี้อย่างย่นย่อที่สุดเพื่อช่วยให้เราทราบว่า  ใครจะต้องทำอะไรบ้าง จะรับภาระหน้าที่ไปแค่ไหน อาทิเช่น ผู้ขายต้องรับภาระในเรื่องของความเสี่ยง ( Risk )  เพียงใด ถึงจุดใด  และต้องรับภาระในเรื่องค่าใช้จ่าย ( Costเพียงใด  ถึงจุดใด  รวมทั้งที่จะต้องรับหน้าที่ในการจัดหายานพาหนะขนส่งหรือไม่ เพียงใด ด้วย   หรือว่าอีกอย่างหนึ่ง ผู้ซื้อจะต้องเริ่มรับภาระของความเสี่ยง (Risk) เพียงใด จากจุดใด  และต้องรับภาระเรื่องค่าใช้จ่าย (Costเพียงใด จากจุดใด  ตลอดจนหน้าที่ในการจัดหายานพาหนะขนส่งด้วย ว่าจะต้องเริ่มจากจุดไหนไปถึงจุดไหน   สรุปแล้ว Trade Terms มีไว้ตัดสินว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนั้นได้มีการส่งมอบ  (Delivery) ณ จุดไหน  เพราะว่าตามประเพณีทางการค้านั้น ในเมื่อมีการส่งมอบแล้วความเสี่ยงจะเปลี่ยนมือจากผู้ขายไปอยู่ทางฝ่ายผู้ซื้อ  แต่ต้องไม่ลืมว่าการส่งมอบนี้จะกระทำได้แต่เฉพาะสินค้าที่มีตัวตน (Tangible  goods) สามารถจับต้องได้เท่านั้นมิได้หมายรวมถึงสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible  goodsเช่น  ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

เรื่องนี้  ดูเผิน ๆ  ก็ง่ายดี   แต่ว่าในโลกนี้ แต่ละถิ่น แต่ละประเทศ  ต่างก็แปลความหมายของ Trade Terms ผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป  เป็นเหตุให้เกิดการโต้เถียงกันอยู่เนือง ๆ  ระหว่างฝ่ายผู้ขายกับฝ่ายผู้ซื้อ เพราะต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจคนละอย่าง ไม่ตรงกัน   ด้วยเหตุนี้ หอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce หรือ ICC)   ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ปารีส  และมีสำนักงาน ICC ประจำอยู่ในแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วไปร่วมร้อยแห่ง รวมทั้งประเทศไทยเราด้วย  จึงได้กำหนด Incoterms (INternational COmmercial TERMS) ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความหมายของ   Trade Terms      ที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นนี้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้ยุติข้อโต้แย้งต่าง ๆ กันเสียที   กล่าวอีกอย่างหนึ่ง Incoterms ก็คือ Trade Terms  นั่นเอง  แต่เป็น Trade Terms ที่ยอมรับใช้กันทั่วทั้งโลก

   เริ่มด้วยปี 1936 หรือเมื่อประมาณ พ.. 2479Incoterms ของ  ICC  ได้ออกใช้เป็นครั้งแรก และมีการแก้ไขต่อ ๆ มาอีกหลายครั้งหลายหน  ในปี 1953, 1967, 1976, 1980, 1990 ตามลำดับ  และฉบับสุดท้าย ซึ่งเริ่มใช้เป็นทางการตั้งแต่วันที่  มกราคม ปี 2000  (.. 2543) เป็นต้นมา  มีชื่อเรียกว่า  "Incoterms 2000"  เพื่อใช้แทน Incoterms 1990 ที่ถึงวาระต้องหมดอายุไป
 ทุกครั้งที่มีการใช้   Trade Terms   โดยมีความประสงค์จะให้ตีความหมายตามที่หอการค้านานาชาติวางกฎระเบียบไว้ ผู้ซื้อและ/หรือผู้ขาย จะต้องระบุอย่างชัดเจน ไว้ในใบเสนอราคา  ในอินวอยส์  ในสัญญาซื้อขาย  หรือในเลตเตอร์ออฟเครดิต ฯลฯ   เป็นวงเล็บต่อท้าย Trade Terms นั้น ๆ ว่า  “(Incoterms 2000)”  เช่น  FOB Bangkok (Incoterms 2000)  เพื่อจะไม่ต้องต่อล้อต่อเถียงกันเมื่อเป็นความถึงโรงถึงศาล  ว่าจะใช้  Incoterms  ฉบับไหนกันแน่โดยเฉพาะถ้าเป็นความในศาลต่างประเทศแล้ว ค่าใช้จ่ายจะสูงอย่างเหลือรับทีเดียว

2.  ช่วงต่าง ๆ ของการขนส่ง
ารขนส่งสินค้าไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด  กล่าวคือ ทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ  จะแบ่งขั้นตอนออกได้เป็น 3 ช่วง คือ

2.การขนส่งเบื้องต้น (Pre-Carriage)  เป็นการขนส่งจากสถานที่เก็บสินค้าของผู้ขาย ไปยังท่าเรือ ย่านบรรทุกสินค้าทางบก (ทางรถไฟ หรือ ทางรถยนต์บรรทุกหรือท่าอากาศยาน ในประเทศเดียวกัน ซึ่งจะต้องทำพิธีการศุลกากรขาออกด้วย  เป็นต้นว่า ขนจากคลังสินค้าที่บางปะกงมาจนถึงท่าเรือคลองเตย

2.การขนส่งหลัก (Main Carriage)  เป็นการขนส่งโดยยานพาหนะระหว่างประเทศ หลังจากที่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกของประเทศต้นทาง ไปจนถึงประเทศปลายทาง ซึ่งต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าอีกครั้งหนึ่ง  เช่น จากท่าเรือคลองเตยไปจนถึงท่าเรือสิงคโปร์

2.การขนส่งต่อ (On Carriage)  เป็นการขนส่งต่อเนื่องจากจุดที่สินค้าไปถึงประเทศปลายทางไปจนถึงอาคารของผู้ซื้อในประเทศปลายทางนั้น เช่น จากท่าเรือสิงคโปร์ไปถึงคลังสินค้าของผู้ซื้อที่ Jurong บนเกาะสิงคโปร์
3.  รูปลักษณะของ Incoterms 
Incoterms 2000 ฉบับนี้  (รวมทั้ง Incoterms 1990 ที่ยกเลิกไปแล้วแบ่ง terms ออกเป็นกลุ่ม ๆ  รวม กลุ่ม  หรือทั้งหมด 13 เงื่อนไข  ดังนี้

 3.1  กลุ่ม E (ออกจากต้นทาง  -  Departure) ได้แก่ 
EXW - EX Works  (ระบุสถานที่ต้นทาง)

3.2  กลุ่ม F (ค่าขนส่งหลัก หรือค่าขนส่งข้ามประเทศ ยังไม่จ่าย  -  Main Carriage Unpaid)
FCA - Free Carrier  (ระบุชื่อสถานที่)
FAS - Free Alongside Ship  (ระบุชื่อท่าเรือต้นทาง)
FOB - Free On Board  (ระบุชื่อท่าเรือต้นทาง)

3.3    กลุ่ม C (ค่าขนส่งหลักหรือค่าขนส่งข้ามประเทศจ่ายแล้ว  –  Main  Carriage Paid)  ได้แก่
CFR - Cost and Freight (ระบุชื่อท่าเรือปลายทาง)
CIF -  Cost, Insurance and Freight (ระบุชื่อท่าเรือปลายทาง)
CPT - Carriage Paid To (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)
CIP -  Carriage and Insurance Paid To (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)

3.4  กลุ่ม D  (ถึงปลายทาง  -  Arrival)  ได้แก่
DAF - Delivered At Frontier  (ระบุชื่อสถานที่ที่ส่งที่พรมแดน)
DES - Delivered EX Ship  (ระบุชื่อท่าเรือปลายทาง)
DEQ - Delivered Ex Quay (ระบุชื่อท่าเรือปลายทาง)
DDU - Delivered Duty Unpaid (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)
DDP - Delivered Duty Paid  (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)

4.  INCOTERMS แยกกลุ่มตามวิธีการขนส่ง (Mode of Transport)
เราอาจจะแยก Incoterms สำหรับใช้กับรูปแบบการขนส่งต่าง ๆ  ได้เป็น  กลุ่ม ดังต่อไปนี้

4.1 การขนส่งไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ทุกวิธี  รวมทั้งการขนส่งหลายวิธีผสมกัน ( เช่น ทางบกร่วมกับทางเรือโดยใช้เอกสารการขนส่งชุดเดียว หรือฉบับเดียว(Multi-modal Transport)
- EXW ( .... ระบุสถานที่)
- FCA  (.... ระบุสถานที่)
- CPT  ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)
- CIP   ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)
- DAF  ( .... ระบุสถานที่)
- DDU (.... ระบุสถานที่ปลายทาง)
- DDP  (.... ระบุสถานที่ปลายทาง)
4.2 การขนส่งทางอากาศ
- FCA  (.... ระบุสถานที่)
4.3 การขนส่งทางรถไฟและทางรถยนต์
- FCA  (.... ระบุสถานที่)
4.4 การขนส่งทางทะเลและทางน้ำในแผ่นดิน (เช่นแม่น้ำและทะเลสาบ)
- FAS  ( .... ระบุท่าต้นทาง)
- FOB ( .... ระบุท่าต้นทาง)
- CFR ( .... ระบุท่าปลายทาง)
- CIF   ( .... ระบุท่าปลายทาง)
- DES  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
- DEQ ( .... ระบุท่าปลายทาง)

 จากรายการข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า  สำหรับการขนส่งทั้งทางอากาศและทางพื้นดิน (ตามข้อ 3.2 และ 3.3)  การใช้ FOB  term  อย่างที่มักจะทำกันเปรอะอยู่ทั่วไปนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
5.  ความหมายโดยย่อของ INCOTERMS แต่ละเงื่อนไข 
ต่อไปนี้   จะเป็นการกล่าวถึงเงื่อนไขแต่ละเงื่อนไขอย่างง่าย  ๆซึ่งในหนังสือ "Incoterms  2000"  ของ  ICC   จะมีคำอธิบายอย่างละเอียดกว่านี้มาก

5.1 EXW  ( .... ระบุสถานที่)
 ผู้ขายไม่ต้องทำอะไรเลย  เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนส่งสินค้าเองตั้งแต่ออกจากคลังสินค้าของผู้ขาย ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงตกอยู่กับผู้ซื้อทั้งสิ้น ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการผ่านด่านศุลกากรขาออก  กระทั่งค่าใช้จ่ายในการขนของขึ้นรถที่มารับ    คลังสินค้าของผู้ขาย  ทั้งนี้  เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่นให้ผู้ขายส่งของขึ้นรถที่ผู้ซื้อจัดมาให้ด้วย
 อนึ่ง ใคร่ขอตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า EXW นี้เขาให้ใช้ครอบคลุมไปทั้งหมด ไม่มีการใช้เงื่อนไข EX FACTORY, EX WAREHOUSE  ฯลฯ กันต่อไปอีกแล้ว

5.2 FCA ( .... ระบุสถานที่ )
 ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงจุดหรือสถานที่รับสินค้า  (Reception  Point)   ที่อยู่ภายใต้ความอารักขาของผู้รับขนสินค้า (Carrier) เช่น Container Freight Station, Cargo Terminal ที่ท่าอากาศยาน หรือ สถานีรถไฟ ฯลฯ   โดยเป็นหน้าที่ของผู้ขายในอันที่จะจัดการเพื่อส่งออกด้วย   (   เช่น ขอใบอนุญาต ในกรณีที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออก  รวมทั้งผ่านพิธีการศุลกากร)  Terms  นี้ จะใช้สำหรับการขนส่งทุกชนิด ทั้งทางบกหรือและอากาศ   รวมทั้งการขนส่งหลายรูปแบบ  (multimodal  modal)โดยเฉพาะทางเรือจะเกี่ยวเนื่องกับการส่งของโดย  container  ด้วยวิธีที่เรียกว่า  RO-RO  ( roll on – roll off )  ไม่มีการยกสินค้าขึ้นเรือโดยใช้ปั้นจั่น  แต่เป็นการขนส่งสินค้าไปถึงจุดรับสินค้าของผู้รับขนส่ง เช่น  Container Freight Station ( CFS )   ถ้าการส่งมอบสินค้ากระทำที่สถานที่ของผู้ขายเอง  ผู้ขายต้องรับผิดชอบในการเอาของขึ้นบรรทุกยานพาหนะที่มารับด้วย      แต่ถ้าการส่งมอบกระทำ ณ สถานที่อื่น    ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดชอบในการนำของลงจากยานพานะที่ใช้ขนสินค้าไป  ฯลฯ

5.3 FAS  ( .... ระบุท่าต้นทาง)
 ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงข้างลำเรือที่ท่า หากเรือทอดสมออยู่กลางทะเลก็ต้องลำเลียงโดยเรือเล็กไปจนถึงข้างเรือใหญ่  กรณีนี้ ผู้ขายต้องจัดการส่งออกให้เรียบร้อย  กล่าวคือทั้งเสียอากรขาออกและขอใบอนุญาตส่งออก ฯลฯ  ซึ่งต่างกับ  Incoterms 1990 ฉบับเดิมอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะตามฉบับที่แล้ว ผู้ซื้อต้องจัดการทำพิธีการส่งออกเอาเอง

5.4 FOB  ( .... ระบุท่าต้นทาง)
 ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงบนเรือ และความเสี่ยงจะเปลี่ยนข้างจากผู้ขายไปตกอยู่กับผู้ซื้อตั้งแต่วินาทีที่สินค้าถูกยกข้ามพ้นกราบเรือ (ship's rail)  ไปเหนือลำเรือแล้ว  ภาระในการส่งออก (เช่น การขอใบอนุญาต การชำระค่าอากรขาออก ฯลฯเป็นของผู้ขายที่จะต้องจัดการให้เสร็จสิ้น   Terms นี้ใช้สำหรับการส่งของทางเรือแบบดั้งเดิม (conventional)  โดยการยกสินค้าขึ้นเรือ หรือที่เรียกกันว่า LO-LO (Lift on – Lift off)

5.5 CFR  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
 (โปรดสังเกตว่าเงื่อนไขนี้  เดิมใช้กันว่า C&F)
 เช่นเดียวกันกับ FOB ข้างบน  หากแต่ว่าผู้ขายต้องชำระค่าระวางในการขนส่งทางเรือด้วย  มีข้อที่น่าสังเกตคือ ถึงแม้ผู้ขายจะต้องรับภาระเรื่องค่าระวางถึงปลายทางก็ตาม  แต่ความเสี่ยงของฝ่ายผู้ขายนี้จะอยู่แค่กราบเรือที่ต้นทาง เหมือนกับกรณีของ FOB เท่านั้นเอง  ว่าอีกอย่างหนึ่ง Cost (ค่าใช้จ่าย) ของผู้ขายไปถึงท่าปลายทาง (เสียค่าระวาง) แต่ Risk (ความเสี่ยงของผู้ขายจะสิ้นสุดที่กราบเรือเท่านั้นเอง   ถ้าเป็นการส่งสินค้าโดยมิได้มียกของข้ามกราบเรือ จะต้องใช้เงื่อนไข CPT ซึ่งจะกล่าวต่อไป

5.6 CIF  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
  เช่นเดียวกับ  CFR  ทุกประการ   เพียงแต่เพิ่มให้ผู้ขายต้องจัดการเอาประกันภัยให้กับสินค้าที่ขนส่ง ด้วยการชำระเบี้ยประกันจนถึงปลายทางด้วยเท่านั้น   และต้องไม่ลืมว่าความเสี่ยงของผู้ขายจะมีถึงจุดเหนือกราบเรือ  เช่นเดียวกับเงื่อนไข FOB  หรือ  CFR  เท่านั้น  เลยไปแล้วเป็นเรื่องของผู้ซื้อ

5.7 CPT  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
  เป็น term ใหม่  ใช้มาตั้งแต่ Incoterms 1990  สำหรับการขนส่งทุกรูปแบบ รวมทั้ง multimodal transport  ด้วย มีความหมายใกล้เคียงกันกับ CFR  ซึ่งให้ใช้แต่เฉพาะการขนส่งทางเรือนั่นเอง  แต่สำหรับเงื่อนไข CPT นี้  ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับขนส่ง (Carrier) ณ สถานที่รับของ  ไม่ต้องส่งของขึ้นเรือ

5.8 CIP  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
  เช่นเดียวกับ CPT  ทุกประการ แต่เพิ่มภาระให้ผู้ขายต้องเอาประกันภัยด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว ความหมายของ CIP ก็ใกล้เคียงกับ CIF  จะต่างกันก็ตรงที่ CIP  ใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ ตลอดจน multimodal transport  แต่ CIF ใช้กับการขนส่งทางเรือเท่านั้น

5.9 DAF  ( .... ระบุสถานที่)
สำหรับการขนส่งสินค้าโดยผู้ขายไปจนถึงพรมแดนของประเทศโดยผ่านด่านศุลกากรขาออกของประเทศผู้ขายไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านด่านศุลกากรขาเข้าของประเทศผู้ซื้อ  ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเป็นของผู้ขายไปถึงจุดที่ว่านั้น  ณ พรมแดน  ทั้งนี้ เว้นจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น

5.10 DES ( .... ระบุท่าปลายทาง)
ผู้ขายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง  จนกระทั่งเรือไปถึงและเทียบท่าปลายทางความรับผิดชอบนี้จะจำกัดอยู่แค่นั้น  โดยสินค้ายังอยู่บนเรือ  สำหรับการขนของลงจากเรือและค่าใช้จ่ายตลอดจนความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ตามมา เป็นเรื่องของผู้ซื้อแต่ลำพังเพียงผู้เดียว

5.11 DEQ  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
 เหมือนกันกับ DES ข้างบน หากแต่ผู้ขายต้องขนส่งสินค้าลงที่หน้าท่าให้ด้วย ต่อจากนั้นจึงเป็นภาระของผู้ซื้อ  ค่าอากรขาเข้าและภาระในการขอใบอนุญาตนำเข้า  (ถ้าจำเป็นต้องมี) ผู้ซื้อต้องจัดการเอง  เงื่อนไขนี้ เดิมใน Incoterms 1990 ผู้ขายหรือผู้ซื้อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะจ่ายก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน (แต่ปกติแล้วผู้ขายต้องจ่ายคราวนี้เปลี่ยนเป็นให้ผู้ซื้อจ่ายอย่างเดียว
 
5.12 DDU  ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)
ผู้ขายจะต้องขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกำหนดในประเทศปลายทาง  เช่นให้ส่งที่คลังสินค้าของผู้ซื้อไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ไหน ในประเทศปลายทางดังกล่าว  แต่ถ้าตกลงกันว่าให้ส่งมอบสินค้าในบริเวณท่าเรือปลายทางก็ควรใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทน   ในการนี้ผู้ขายจะจัดการขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่จะส่งมอบ  แต่เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนสินค้าดังกล่าวลงจากยานพาหนะที่ไปส่งสินค้าเอง อย่างไรก็ตาม  ทางฝ่ายผู้ซื้อต้องชำระค่าอากรขาเข้าตลอดจนภาษีอื่น ๆ ของประเทศที่นำสินค้าเข้าเองด้วย

5.13 DDP  ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)
ผู้ขายต้องรับภาระสูงสุด   (และราคาก็สูงสุดเหมือนกัน)เพราะฝ่ายผู้ซื้อไม่ต้องทำอะไรและไม่ต้องจ่ายค่าอากรขาเข้าด้วย  เป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องเหมาหมด  การขนสินค้าลงจากยานพาหนะที่ไปส่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อเช่นเดียวกันกับภายใต้เงื่อนไข DDUและถ้าตกลงจะส่งมอบกันในบริเวณท่าเรือ ก็ให้ใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทนเหมือนกันกับกรณี DDU ที่กล่าวแล้ว   ภายใต้เงื่อนไข DDP นี้ ราคาสินค้าต่อหน่วยจะแพงที่สุด เพราะผู้ขายต้องรับภาระทุกอย่าง
  
6. ทำไมจึงได้มีการแก้ไข Incoterms อีกครั้งในปี 2000
ารแก้ไขที่มีหลายครั้งหลายหน ก็เพื่อปรับปรุง Incoterms ให้เข้ากับวิธีปฏิบัติในการค้าที่มีวิวัฒนาการเป็นลำดับมา  เป็นต้นว่าเมื่อครั้งที่เริ่มใช้ containers ในการขนส่งสินค้า เป็นเหตุให้ต้องเพิ่มเงื่อนไข FCA เข้ามาใช้ร่วมกันกับ FOB แต่ว่าในกรณีที่ต่างกันกับ FOB   Incoterms 2000 ฉบับนี้ใช้เวลาปรับปรุงจากของเดิมอยู่ราว 2 ปี จึงแล้วเสร็จ  โดยพยายามเขียนให้ชัดเจนและถูกต้องขึ้นยิ่งกว่าเก่า  
นอกจากนั้นก็มีนำเรื่องการใช้เอกสารที่ไม่มีกระดาษ (paperless documents)
มารวมเข้าไว้ในรายละเอียดด้วย  เพื่อให้ใช้ได้กับ e-Commerce ต่อไป   เอกสารไร้กระดาษนี้ ใน eUCP (Supplement to UCP 500 for Electronic Presentation  -  ภาคผนวกของ UCP 500 สำหรับการยื่น (เอกสาร) ทางอิเล็กทรอนิคส์) เขาเรียกว่า Electronic Records 
   เดิมทีมีผู้แสดงความคิดเห็นว่า    เงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน  Incoterms 1990  รวม 13 terms นั้น ยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง บ้างก็เสนอแนะให้ใช้เงื่อนไขที่ผันแปร (Variants)  หรือเพี้ยนไปบางอย่าง เป็นต้นว่า   EXW  Loaded,  EXW Cleared, FOB Stowed  (Trimmed and Secured), CIF Undischarged,   CIF Landed   และ  CIP Loaded  ฯลฯ   แต่ว่าในการประชุมเพื่อแก้ไข Incoterms  จาก 1990 มาเป็น  2000  ที่ประชุมตกลงให้ปล่อยไว้ตามเดิม  ใครอยากจะใช้เงื่อนไข variants นี้ก็ทำได้   แต่ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือ Incoterms 2000   ทาง ICC ไม่รับรู้ด้วย

7.  ความเปลี่ยนแปลงของ Incoterms 2000 ไปจาก Incoterms 1990
ดังได้กล่าวแล้วว่า คำจำกัดความของ Incoterms 2000 ยังคงรักษาเนื้อหาของ Incoterms 1990 ไว้เกือบทั้งหมด  จะมีเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ก็ตรงที่  FAS (ข้อ 5.3)   และ DEQ (ข้อ 5.11)  อีกทั้ง FCA ซึ่งเป็นการขยายความมากกว่า  สำหรับ FCA นี้ มีความละม้ายกับ FOB มาก  หากแต่ FCA ไม่ยึดถือเอาการที่สินค้าถูกส่งมอบโดยยกผ่านกราบเรือเป็นสาระสำคัญ  ฉะนั้น หากไม่มีการส่งมอบโดยยกสินค้าผ่านกราบเรือ ซึ่งเป็นวิธีการขนส่งตั้งแต่โบราณแล้ว จะต้องใช้ FCA   จะใช้ FOB ไม่ได้เป็นอันขาด   อีกประการหนึ่ง เนื่องจากเงื่อนไขนี้ใช้ได้กับการส่งมอบสินค้า ณ ที่อื่นซึ่งอยู่ห่างจากลำเรือด้วย  เช่นส่งมอบที่ Container Freight Station (CFS)  ถ้าใช้เงื่อนไข FCA และผู้ซื้อส่งยานพาหนะมารับของ ผู้ขายมีภาระต้องจัดการขนสินค้าขึ้นยานพาหนะดังกล่าวด้วย  ตรงกันข้าม ถ้าผู้ขายต้องจัดยานพาหนะไปส่งของให้ถึงสถานที่รับของ (เช่น CFS)  ผู้ขายไม่มีหน้าที่ต้องขนลงให้  ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้เอง

8. ข้อสังเกตุ
Incoterms 2000  ซึ่งเป็นผลงานของคณะผู้ยกร่างอันมี Professor Jan Ragbag เป็นประธานนี้ ได้รับการต้อนรับอย่างกว้างขวางกว่าเดิมมาก  แม้แต่ UNCITRAL (UN Commission on International Trade Law  -  คณะกรรมการกฎหมายการค้าระหว่างชาติขององค์การสหประชาชาติก็ยังให้การยอมรับนับถือ
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องของ Incoterms โดยสรุปอย่างย่อที่สุด ซึ่งเชื่อว่าน่าจะอำนวยประโยชน์ได้บ้างพอสมควร ปัญหาที่ผู้บรรยายประสบเสมอจนทุกวันนี้ ได้แก่เงื่อนไข CFR  อันเป็นเงื่อนไขเก่าแก่   ที่ใช้กันมานานในชื่อเดิมว่า  C&F   แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นใช้อักษรสามตัว และเลิกใช้สัญลักษณ์  "&" ไปแล้ว  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการติดต่อกันโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  เพราะว่าการใช้สัญลักษณ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในการติดต่อสื่อสาร  หรือแม้แต่กับเครื่องเทเล็กซ์เองนั้นเป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก   เงื่อนไข  C&F นี้   ที่เห็นในเทเล็กซ์ เขาใช้กันว่า CNF  เพื่อเลี่ยงการใช้สัญลักษณ์  "&นอกจากนี้แล้ว ที่เห็นว่ายังนิยมใช้กันมากคือ  FOB  สำหรับการขนส่งทางอากาศ   ซึ่งไม่ถูกต้อง  หากจะยึดถือตาม  Incoterms  แล้ว  ต้องใช้  FCA  แต่อย่างเดียว


อ้างอิง นางสาวดุษฎี  กิติสกล   53120047  การบัญชี    เทียบโอนปี 2